รถยนต์ไฟฟ้า EV PHEV HEV FCEV ต่างกันยังไง?
ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้ากำลังจะเข้ามาแทนที่รถยนต์ที่เป็นเชื้อเพลิงแบบสันดาป ด้วยเหตุผลทางมลพิษในอากาศ และสิ่งแวดล้อม หลายๆประเทศจึงเริ่มมีนโยบายที่จะลดการใช้รถยนต์แบบสันดาปกันแล้ว และหันมากระตุ้นการใช้รถยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษเข้ามาแทนที่ โดย ณ ปัจจุบันมีรถยนต์หลายค่ายหลายแบรนด์ที่เริ่มใช้เทคโนโลยีประเภทไฟฟ้ามาใช้ผสมกับเครื่องยนต์แบบสันดาป ซึ่งจริงๆก็ใช้กันมาซักพักใหญ่แล้ว
ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า EV PHEV HEV FCEV ต่างกันยังไง? โดยแต่ละแบบมีการทำงานผสมกับระบบไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้าหรือไฟฟ้า100% เพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดมลพิษ ส่วนแต่ละแบบมีการทำงานอย่างไรมาดูกันเลย
ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า มีกี่ประเภท ณ ปัจจุบัน EV PHEV HEV FCEV ต่างกันยังไง?
รถยนต์ไฟฟ้าในตลาดประเทศไทยตอนนี้มี 3 ประเภทหลักๆที่หาได้ทั่วไป รถยนต์ประเภทไฮบริด HEV,รถปลั๊กอินไฮบริด PHEV, รถไฟฟ้าแบตเตรอ์รี่ BEV และอีก1ประเภทที่ยังมีน้อยและยังไม่เป็นที่นิมเท่าไหร่ รถไฟฟ้าประเภทเซลล์เชื้อเพลิง FCEV โดยที่แต่ละแบบจะมีจุดเด่นจุดด้อย ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนทำการเลือกซื้อใช้งานดังนี้
1.รถยนต์ไฟฟ้าประเภท (HEV : Hybrid Electric Vehicle)ไฮบริด
รถยนต์ประภทไฮบริดมีอยู่ในท้องตลอดรถยนต์ของประเทศไทยมาซักพักใหญ่แล้ว โดยระบบการทำงานของเครื่องยนต์แบบไฮบริดคือการใช้มอเตอร์ไฟฟ้าผสมการทำงานกับเครื่องยนต์สันดาป โดยหลักการทำงานของเครื่องยนต์แบบไฮบริดจะมีดังนี้
-ออกตัว/สตาร์ทเครื่องยนต์/ความร็วต่ำ ระบบจะใช้พลังงานไฟฟ้า
-ความเร็วคงที่ ระบบจะใช้พลังงานน้ำมัน ผสมกับพลังงานมอเตอร์ไฟฟ้า
-ช่วงเร่งความเร็ว ระบบจะใช้พลังงานน้ำมัน ผสมกับมอเตอร์ไฟฟ้าและใช้พลังงานจากแบตเตรอ์รี่ในการเสริมแรงให้กับมอเตอร์ไฟฟ้า
*ภาพจาก : What is Toyota Hybrid System – YouTube
2.รถยนต์ไฟฟ้าประเภท ปลั๊กอิน-ไฮบริด (PHEV : Plug-In Hybrid Electric Vehicle)
รถยนต์ประเภทปลั๊กอิน(plug-in)ไฮบริด PHEV เป็นการต่อยอดจากรถยนต์ไฮบริดที่มีอยู่แล้ว หลักการทำงานคล้ายกันแต่ระบบปลั๊กอินไฮบริดจะแตกต่างจากไฮบริดตรงที่ แบบปลั๊กอินจะรับพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายนอก หรือก็คือการชาร์จไฟเข้าจากตู้ชาร์จที่สถานีหรือหัวชาร์จที่บ้าน โดยที่แบบไฮบริดจะเป็นการชาร์จไฟจากภายในระบบ ปลั๊กอินไฮบริดจะมีประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้าดีกว่าแบบไฮบริดทั่วไป แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่สูงกว่าไฮบริดอันเนื่องมาจากราคาแบตเตอร์รี่ที่แพงกว่า
3.รถยนต์ไฟฟ้าประเภท แบตเตอร์รี่-ไฟฟ้า (BEV : Battery Electric Vehicle)
รถยนต์ไฟฟ้าประเภทแบตเตอร์รี่ BEV ถือเป็นความก้าวหน้าทางโลกยนตรกรรม ที่สามารใช้ไฟฟ้าขับเคลื่อนเครื่องยนต์แบบมอเตอร์ไฟฟ้าไม่พึ่งพาเชื้อเพลิงอย่างอื่น ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ 100% โดยตัวรถจะมีการจัดวางแบตเตอร์รี่และมอเตอร์ไฟฟ้าในตำแหน่งที่ไม่เหมือนกับรถเครื่องยนต์สันดาปทั่วไป จึงทำให้รถ EV หลายๆรุ่นถูกดีไซน์ให้มีรูปร่างหน้าตา พื้นที่จัดเก็บสัมภาระต่างจากรถสันดาป แต่พื้นที่ใช้สอยเยอะขึ้น แต่ ณ ปัจจุบันราคารถ EV ยังค่อนข้างมีราคาสูงกว่ารถยนต์แบบสันดาป ด้วยราคาแบตเตอร์รี่ที่แพง และยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่เป็นข้อจำกัดของรถ EV เช่น ระยะการใช้งานของแบตเตอร์รี่ สถานีชาร์จ จึงทำให้รถ EV มีข้อจำกัดที่ผู้ใช้รถสันดาปยังไม่กล้าหันมาใช้รถ EV ยังคงต้องรอดูกันต่อไปว่าในอนาคตจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆที่มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแบตเตอร์รี่ และลดต้นทุนทางการผลิตได้หรือไม่
*ภาพจาก : How Do Electric Vehicles Work? – YouTube
4.รถยนต์ไฟฟ้าประเภท เซลล์เชื้อเพลิง (FCEV : Fuel Cell Electric Vehicle)
รถยนต์ประเภท เซลล์เชื้อเพลิง หรือเครื่องไฮโดรเจน FCEV เป็นเครื่องยนต์ผสมการทำงานระหว่างเชื้อเพลิงและมอเตอร์ไฟฟ้ารูปแบบเดียวกับประเภทไฮบริดแต่เปลี่ยนจากการใช้น้ำมันเป็นไฮโดรเจน ซึ่งการใช้ไฮโดรเจนจะไม่ปล่อยมลพิษเหมือนกับการใช้น้ำมัน โดยเชื้อเพลิงไฮโดรเจนหาได้จาก แหล่งก๊าซธรรมชาติ หรือจากผลิตขึ้นมาเองด้วยกระบวนการทางเคมี แต่การใช้ก๊าซไฮโดรเจนยังมีข้อจำกัดหลายๆอย่างที่ผู้บริโภคกังวล นั่นคือความปลอดภัย และสถานีเติมไฮโดรเจนยังน้อยมากในประเทศไทย โดยสถานีเติมก๊าซไฮโดรเจนในไทยแห่งแรกได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2565 (แหล่งข่าวอ้างอิง : ปตท.เปิดปั๊มไฮโดรเจนสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงแห่งแรก (thairath.co.th))
*ภาพจาก : Image of a hydrogen engine – YouTube
ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า EV PHEV HEV FCEV ต่างกันยังไง? จากรถทั้ง 4 ประเภทที่กล่าวมาทั้งเทคโนโลยีและนวัตรกรรมที่เพิ่มเข้ามา คือความพยายามที่จะลดการใช้พลังงานที่สิ้นเปลืองและลดการปล่อยมลพิษ ก๊าซคาร์บอนให้ได้มากที่สุด ในอนาคตอาจจะมีเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถใช้ยานพาหนะได้อย่างประหยัดและลดการปล่อยมลพิษได้หรือไม่ก็ต้องมารอดูกัน จงมีชีวิตต่อไป!!